“ลายนิ้วมือนั้นสําคัญไฉน” อ้อ สําคัญมากๆ เพราะมันเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นใครกันแน่ (ภาษาเขียนใช้ว่าพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล) เคยมีคดีที่ตํารวจจับผิดคนจากหลักฐานดีเอ็นเอ แต่มาไขปริศนาได้ภายหลังว่าคนร้ายตัวจริงมีดีเอ็นเอเหมือนคนที่ถูกจับแต่มีลายนิ้วมือไม่เหมือนกันเพราะเป็นคู่แฝดนั่นเอง) ลายนิ้วมือถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ราวสองเดือนจนถึงหกเดือนก็จะสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงจนตลอดชีวิต (พูดง่ายๆคือตั้งแต่ลืมตาดูโลก แม้นิ้วมือจะเล็กเท่าฝาหอย ลายนิ้วมือก็จะไม่เปลี่ยนแปลงต่อให้ฝ่ามือโตเท่าใบลาน เช่นเป็นก้นหอย มัดหวาย หรือแบบโค้ง) นอกจากนั้นการวิจัยยังพบว่าคนที่มีพรสวรรค์/ความสามารถพิเศษ จะมีลายนิ้วมือที่เฉพาะเจาะจงบนนิ้วบางนิ้ว การพัฒนาองค์ความรู้ด้านลายนิ้วมือด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้มีผู้สร้างโปรแกรมสําเร็จรูปทํานายความฉลาดของคนด้านต่างๆ 8-10 ด้านเพื่อคัดเลือกคนเข้าทํางาน หรือเลือกสาขาเรียนให้ลูกหลานได้ตรงกับความฉลาดแต่กําเนิด หนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้พื้นฐาน ไม่ใช่โหราศาสตร์ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์และใช้ประโยชน์มานานนับพันปี NoBrand
หนังสือวิทยาศาสตร์กับความงาม
หนังสือสภาพใหม่ วิทยาศาสตร์และพันธุกรรมลายนิ้วมือ NoBrand
cached
หนังสือ วิทยาศาสตร์แห่งความสําเร็จ The Formula Salt(ซอลส์)
หนังสือขนาดจัมโบ้ (กว้าง 16.5 x สูง 24 cm) เข้าเล่มปกอ่อนจํานวน 376 หน้า แปลจาก An Introduction to Science and Technology Studies, Second Edition by Sergio Sismodo แปลโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย บรรณาธิการแปลโดย ชาญชัย ชัยสุขโกศล และกิตติศักดิ์ โถวสมบัติ __________________________ “บูรณาการความรู้” “สหวิทยาการ” “การข้ามสาขาวิชา” ดูจะเป็นคํายอดนิยม สําหรับการสร้างจุดขาย ทั้งแก่นโยบายอุดมศึกษา การวิจัย หลักสูตร ฯลฯ ในรอบสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา คําเหล่านี้ดูท่าจะสะท้อนว่า แม้สาขาวิชาแต่ละอย่างจะสําคัญ แต่ก็ไม่เพียงพอสําหรับการแก้ปัญหาที่โลกร่วมสมัยต้องเผชิญ และแม้การบูรณาการเป็นไปได้หลายแบบ แต่การบูรณาการที่มักเป็นที่พูดถึงคือ ฟากหนึ่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับอีกฟากหนึ่ง สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อย่างไรก็ดี ก็มีความยุ่งยากภายใต้ม่านอันสวยงามของคําว่าบูรณาการนั้น เช่น อํานาจทางความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นไปในทางประยุกต์ ดูจะมีบทบาทนํามากกว่า ทั้งในแง่ของการเป็นคําอธิบายหลัก และการบริหารจัดการ อีกทั้งเป็นเป้าประสงค์หลัก โดยที่สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เป็นแค่ส่วนประกอบที่ทําให้เกิดการยอมรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น หรือเป็นลูกไล่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง บทบาทของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้กลายเป็นเครื่องมือให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดินทางสู่เป้าหมายของการเกิดประโยชน์ใช้งานเท่านั้นเอง อีกด้านหนึ่ง ราวกับการโต้กลับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็รื้อถอนการอ้างถึงความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหนทางสู่ความจริงเพียงเจ้าเดียว ดังที่ความรู้ในโลกร่วมสมัยมีความไม่แน่นอนสูงเสียจนมีการถามท้าการอ้างความถูกต้องของผู้เชี่ยวชาญ และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองขับเคลื่อนก็เป็นที่กังขาอย่างสูงยิ่ง คําถามเชิงจริยธรรมที่ข้องเกี่ยวกับการอยู่รอดของความเป็นมนุษย์และสรรพสิ่งก็เป็นประเด็นด้วยเช่นกัน โดยนัยนี้เอง บทบาทเชิงวิพากษ์ของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความต้องการสูงขึ้น แม้จะไม่ก่อให้เกิดโภคผลแบบจับต้องได้ในทันที แต่ก็เปิดพื้นที่แก่ประชาธิปไตย และเรียกร้องบทสนทนาระหว่างสองฟากความรู้นี้ ให้ข้ามพ้นแค่การหักล้าง แต่ไปสู่การร่วมสร้างอย่างเท่าเทียมกัน คําว่า STS มักจะโผล่ขึ้นมาในบริบทเช่นนี้ และทางที่จะเดินไปต่อสําหรับการร่วมสร้างนั้นก็เกี่ยวข้องกับคําถามว่า STS คืออะไร? คําตอบนี้ ทั้งในส่วนของประเทศไทยและระดับโลก มีอยู่สองความหมายด้วยกัน แบบแรก “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม” (Science, Technology and Society) ที่ค่อนข้างเป็นการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติการ กล่าวคือ ในประเทศไทย ตลอดช่วงเวลาแทบจะครึ่งศตวรรษ มีการทํางานเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับชุมชน สร้างแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ที่คํานึงถึงความเป็นมนุษย์และสังคม สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคม สร้างกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมโดยภาคประชาชน ฯลฯ ความพยายามที่อยู่ที่ขอบแดนของสาขาวิชาเหล่านี้ล้วนดําเนินการไปด้วยหัวจิตหัวใจของการร่วมสร้างในแบบ STS แม้จะไม่ได้รู้จักคําว่า STS ก็ตามที (หรืออาจจะเรียกว่าผู้มาก่อนกาลของ STS ด้วยซ้ํา) อย่างไรก็ดี ภาคปฏิบัติการก็ยังไม่เพียงพอ เราก็ยังต้องการ STS ในอีกแบบหนึ่งมาประกอบด้วย อีกแบบหนึ่งของ STS ซึ่งเริ่มคุ้นหูมากขึ้นในระยะหลังคือ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา” (Science and Technology Studies) ซึ่งมีความเป็นวิชาการมากกว่า แนวทางนี้เริ่มต้นจ